Removal of antibiotics in Wastewater

ในงานวิจัยมุ่งเน้นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมมาสังเคราะห์เป็นวัสดุคาร์บอนรูพรุนเพื่อใช้กำจัดสารมลพิษอุบัติใหม่ (Emerging pollutants)โดยวัสดุเหลือทิ้งประกอบด้วย

1. เปลือกแมคคาเดเมีย

2. กากกาแฟ

3. พาร์ติเกิ้ลบอร์ด

การสังเคราะห์วัสดุคาร์บอนรูพรุน

ทำได้โดยการนำวัสดุเหล่านี้มาผ่านกระบวนการเผาหรือที่เรียกว่าคาร์บอนไนเซชัน (carbonization) ภายใต้สภาวะที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถนำวัสดุดังกล่าวไปผ่านกระบวนการปรับปรุงพื้นผิวเพื่อให้ได้วัสดุคาร์บอนรูพรุนที่มีคุณสมบัติพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น มีหมู่ฟังก์ชันบนพื้นผิวคาร์บอน มีขนาดรูพรุนเหมาะสม เมื่อได้วัสดุคาร์บอนที่มีสมบัติตามที่ต้องการจะมีการนำไปใช้บำบัดสารมลพิษอุบัติใหม่

Removal of antibiotics in Wastewater

กระบวนการดูดซับ (Removal of antibiotics in Wastewater)

ซึ่งจะทดลองการดูดซับผ่านแพ็คคอลัมน์ น้ำเสียที่ปนเปื้อนด้วยสารอุบัติใหม่เมื่อผ่านแพ็คคอลัมน์จะถูกกำจัดออกจนหมดและเหลือเพียงน้ำที่ปราศจากการปนเปื้อน วัสดุดูดซับที่ใช้ในการทดลองเมื่อเวลาผ่านไปจนถึงจุดหนึ่งการดูดซับจะเกิดการอิ่มตัว กล่าวคือไม่สามารถดูดซับสารมลพิษได้อีกต่อไป จะมีการนำวัสดุดูดซับเหล่านี้มาผ่านกระบวนการฟื้นฟูด้วยความร้อนหรือสารเคมีทำให้สามารถนำวัสดุดังกล่าวกลับไปใช้ซ้ำได้

About us

ผศ.ดร. ณัฐพร โทณานนท์ [Asst.Prof.Nattaporn Tonanon, D.Eng.]
Department of Chemical Engineering, 9th Floor, Building,
Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand
Email: nattaporn.t@chula.ac.th Tel: 086 629 1818 fax: 02 218 6877

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *